วิถีดำเนิน วินิจฉัย และพยากรณ์โรค ของ ความผิดปรกติในความคิด

ในยุคต้น ๆ เชื่อว่า ความผิดปกติทางความคิดเกิดแต่ในโรคจิตเภท ภายหลังจึงพบว่า มันเกิดในภาวะทางจิตเวชอื่น ๆ รวมทั้งอาการฟุ้งพล่านในโรคอารมณ์สองขั้ว และเกิดแม้ในคนปกติอนึ่ง คนไข้โรคจิตเภทไม่ได้มีอาการนี้ทุกคน ดังนั้น การไม่ผิดปกติทางความคิดจึงไม่ได้หมายความว่าไม่มีโรคจิตเภท คือ ภาวะนี้ไม่ได้จำเพาะกับโรคนี้มาก[33]เมื่อใช้นิยามโดยเฉพาะ ๆ ของรูปแบบย่อยของภาวะ และเมื่อจัดหมวดหมู่เป็นอาการเชิงบวกและอาการเชิงลบ จิตแพทย์หญิงชาวอเมริกันผู้ประดิษฐ์แบบประเมินอาการเชิงบวกและอาการเชิงลบของโรคจิตเภท (คือ Nancy Andreasen) ได้พบว่า[33] รูปแบบย่อยต่าง ๆ ของความผิดปกติมักเกิดไม่เท่ากันระหว่างคนไข้อาการฟุ้งพล่าน คนไข้ซึมเศร้า กับคนไข้โรคจิตเภทคนไข้อาการฟุ้งพล่านมีการพูดเร็ว (pressured speech) เป็นอาการเด่นสุด แต่ก็มีอัตราการพูดนอกเรื่อง (derailment) ตอบเฉียด (tangentiality) และพูดไม่ปะติดปะต่อ (incoherence) ที่เด่นพอ ๆ กันกับคนไข้โรคจิตเภทโดยมีโอกาสมีการพูดเร็ว พูดวอกแวก (distractibility) และพูดอ้อมค้อมมากกว่า[33][61]

ส่วนคนไข้โรคจิตเภทมีความผิดปกติทางความคิดเชิงบกพร่องมากกว่ารวมทั้งการพูดน้อยและการพูดมีเนื้อหาน้อย แต่ก็มีความผิดปกติทางความคิดเชิงบวกบางอย่างในอัตราสูงเหมือนกัน[33]การพูดนอกเรื่อง การพูดเสียจุดหมาย (loss of goal) การพูดมีเนื้อหาน้อย การตอบเฉียด และการพูดไม่สมเหตุผล (illogicality) ค่อนข้างจะเฉพาะกับโรคจิตเภท[62]

ส่วนคนไข้โรคซึมเศร้ามีความผิดปกติทางความคิดน้อยกว่าที่เด่นสุดก็คือการพูดน้อย การพูดมีเนื้อหาน้อย และการพูดอ้อมค้อมอนึ่ง หมอยังพบประโยชน์ทางการวินิจฉัยในการแบ่งเป็นอาการเชิงบวกและอาการบกพร่อง เช่น การมีความผิดปกติทางความคิดเชิงบกพร่องโดยไม่ผิดปกติทางอารมณ์อย่างเต็มตัวชี้ว่า เป็นโรคจิตเภท[33][61]

หมอยังพบประโยชน์ทางการพยากรณ์โรคของการแบ่งอาการออกเป็นอาการเชิงบวกและอาการบกพร่องในคนไข้อาการฟุ้งพล่าน ความผิดปกติทางความคิดโดยมากจะกลับคืนสู่ระดับปกติ 6 เดือนหลังจากเริ่มตรวจรักษา ซึ่งแสดงว่าความผิดปกติทางความคิดในโรคนี้ แม้จะรุนแรงเท่า ๆ กับที่พบในโรคจิตเภท ก็ยังฟื้นสภาพได้แต่ในคนไข้โรคจิตเภท ความผิดปกติทางความคิดเชิงบกพร่องยังคงยืนหลังจาก 6 เดือนและบางครั้งยังแย่ลงอีกส่วนความผิดปกติเชิงบวกจะดีขึ้นบ้างอนึ่ง ความผิดปกติทางความคิดเชิงบกพร่องเป็นตัวยพยากรณ์ผลบางอย่างที่ดี เช่น คนไข้ที่มีความผิดปกติทางความคิดเชิงบกพร่องที่เด่นจะดำเนินชีวิตทางสังคมได้แย่ลง 6 เดือนต่อมา[33]ดังนั้นโดยทั่วไป การมีอาการเชิงลบที่เด่นกว่าเป็นตัวชี้ว่า จะได้ผลที่แย่กว่าอย่างไรก็ดี คนไข้ก็ยังอาจฟื้นสภาพได้ดี ตอบสนองต่อยา และสมองทำงานปกติโดยอาการเชิงบวกก็จะคล้าย ๆ กันในทางตรงกันข้าม[63]

เมื่อเริ่มป่วย ความผิดปกติทางความคิดที่เด่นจะชี้พยากรณ์โรคที่แย่กว่า รวมทั้ง[11]

  • โรคจะเกิดเร็วกว่า
  • เพิ่มความเสี่ยงต้องเข้า รพ.
  • ผลต่อการดำเนินชีวิตจะแย่กว่า
  • อัตราความพิการจะสูงกว่า
  • พฤติกรรมทางสังคมจะแย่กว่า

ความผิดปกติทางความคิดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษายังพยากรณ์การดำเนินของโรคที่แย่กว่า[11]ในโรคจิตเภท ความรุนแรงของความผิดปกติทางความคิดมักจะเสถียรยิ่งกว่าของประสาทหลอนและอาการหลงผิดความผิดปกติทางความคิดที่เด่นมีโอกาสลดลงน้อยกว่าเมื่อถึงวัยกลางคนเมื่อเทียบกับอาการเชิงบวกของโรคจิตเภทอื่น ๆ[11]ความผิดปกติทางความคิดที่เบากว่าอาจเกิดในระยะบอกเหตุ (prodromal) และระยะฟื้นสภาพแล้วแต่ยังมีอาการเหลือค้าง (residual) ของโรคจิตเภท[64]

DSM-5 รวมอาการหลงผิด ประสาทหลอน และกระบวนการความคิดสับสน (คือ ความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบ) และพฤติกรรมเคลื่อนไหวที่สับสนหรือผิดปกติ (รวมอาการเคลื่อนไหวน้อยหรือมากเกิน) เป็นอาการกุญแจสำคัญของโรคจิต (pyschosis)แม้จะไม่เฉพาะเจาะจงต่อโรคใดโรคหนึ่ง แต่ลักษณะของอาการโรคจิตบางอย่างก็ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงต่อโรคบางอย่างเช่น โรคจิตเภทสเปร็กตัม (schizophrenia spectrum disorders) รวมทั้ง schizoaffective disorder, schizophreniform disorder ปกติจะมีประสาทหลอน และ/หรืออาการหลงผิดที่เด่น รวมทั้งความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบแม่แบบ:Em dashโดยแสดงเป็นความผิดปกติทางพฤติกรรมที่รุนแรงรวมทั้งพฤติกรรมเคลื่อนไหวน้อยหรือมากเกิน สับสน และแปลกส่วนโรคที่มีอาการโรคจิตโดยมีเหตุจากภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ และโรคจิตชักนำโดยสารปกติจะมีอาการหลงผิดและประสาทหลอนส่วนโรคหลงผิด (delusional disorder) และโรคจิตแบบมีร่วม (shared psychotic disorder) ซึ่งมีน้อยกว่า ปกติจะมีอาการหลงผิดที่คงยืน[65]งานวิจัยพบว่า ความผิดปกติทางความคิดโดยรูปแบบโดยมากพบอย่างสามัญในคนไข้โรคจิตเภทและความผิดปกติทางอารมณ์ แต่การพูดมีเนื้อความน้อยจะสามัญกว่าในโรคจิตเภท[66]

แพทย์ผู้มีประสบการณ์อาจแยกแยะอาการโรคจิตจริง ๆ ดังที่พบในโรคจิตเภทและอาการฟุ้งพล่านของโรคอารมณ์สองขั้ว กับการแสร้งป่วยที่บุคคลแสร้งป่วยเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยอาการที่ปรากฏยกตัวอย่างเช่น คนแสร้งป่วยอาจกล่าวถึงสิ่งที่คิดอันผิดปกติ โดยไม่ผิดปกติทางรูปแบบ เช่น พูดนอกเรื่องอาการเชิงลบต่าง ๆ รวมทั้งอาการพูดน้อยอาจไม่มีอนึ่ง ความผิดปกติทางความคิดอย่างเรื้อรังปกติจะทำให้เป็นทุกข์[67]

โดยทั่วไปแล้วโรคออทิซึมสเปกตรัม (ASD) ซึ่งจะวินิจฉัยได้ก็ต่อเมื่อโรคเกิดก่อนอายุ 3 ขวบ จะต่างกับโรคจิตเภทที่เกิดเร็ว (early-onset schizophrenia) โดยการเริ่มเกิดโรค (เพราะโรคจิตเทภที่เกิดก่อนอายุ 10 ขวบมีน้อยกว่า) และโดยความจริงว่า คนไข้ ASD ไม่ผิดปกติทางความคิด[68]อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาที่เสนอว่า คนไข้ ASD ก็ปรากฏปัญหาทางภาษาดังที่พบในคนไข้โรคจิตเภทงานศึกษาปี 2008 พบว่า เด็กและวัยรุ่นที่มี ASD คิดไม่สมเหตุผล (illogical thinking) และคิดนอกเรื่อง (loose association) ในอัตราสูงกว่ากลุ่มควบคุมโดยความคิดไม่สมเหตุผลสัมพันธ์กับการทำงานทางประชานและทาง executive controlส่วนการคิดนอกเรื่องสัมพันธ์กับปัญหาทางการสื่อสารและกับรายงานของพ่อแม่เกี่ยวกับความเครียดและความวิตกกังวลของเด็ก[69]

ใกล้เคียง

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางอารมณ์ ความผิดปรกติในความคิด ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดทางพินัย ความผิดปกติทางจิต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความผิดปรกติในความคิด http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5519298 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18297385 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19521143 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/496551 http://www.who.int/entity/classifications/icd/en/b... //doi.org/10.1001%2Farchpsyc.1979.01780120045006 //doi.org/10.1007%2F978-1-4939-2528-5 //doi.org/10.1007%2Fs10803-007-0526-6 //doi.org/10.1037%2F14646-000